โรคไข้หวัดใหญ่คือ?
ไข้หวัดใหญ่ (Flu or Influenza) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล ไอหรือจาม แต่มีความรุนแรงและมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีโรคไข้หวัดใหญ่เกิดได้อย่างไร?
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคเกิดจากติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza viruses) เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจเช่นเดียวกับโรคหวัด (ไข้หวัดธรรมดาหรือ ไข้หวัด) แต่จากไวรัสคนละชนิดและมีความรุนแรงสูงกว่าโรคหวัดธรรมดามากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ย่อย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ย่อยมีความรุนแรงของโรคต่าง กันและเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกับไวรัสไข้หวัดนก แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย
โรคไข้หวัดใหญ่มีอาการอย่างไร?
อาการสำคัญของโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้สูง บางครั้งสูงมาก 38 - 41 อง ศาเซลเซียส
(Celsius) โดยไข้ขึ้นสูงภายใน 1 วัน ปวดศีรษะมาก ปวดกระบอกตาเวลาตาเคลื่อนไหวมีน้ำตาไหลเมื่อมีแสงสว่าง ปวดกล้ามเนื้อ/ปวดเมื่อยเนื้อตัวอ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ คัดจมูก เบื่ออาหาร ทั้งหมดเป็นอาการที่พบได้บ่อยแต่อาการที่อาจพบได้และเป็นอา การรุนแรงกว่า เช่น หายใจเหนื่อย หอบหายใจมีเสียงหวีด ไอรุนแรง หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้อง เสีย มึนงง ซึมและ หัวใจล้มเหลว
แพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร?
เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ที่สำคัญ คือ
1 เมื่อมีไข้ ควรหยุดโรงเรียนหรือหยุดงานแยกตัวและของใช้จากผู้อื่น เพื่อพักผ่อนและป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
2 พักผ่อนให้มากๆ
3 รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงลดโอกาสเกิดโรคข้างเคียงแทรกซ้อนและลดการแพร่เชื้อ
4 พยายามกินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ในทุกวัน
5 ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆอย่างน้อยวันละ 6 -8 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
6 กินยาลดไข้พาราเซตามอล หรือตามแพทย์/พยาบาล/เภสัชกรแนะนำไม่ควรกินยาแอสไพรินเพราะอาจเกิดการแพ้ ดังกล่าว
7 ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆและทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
8 ใช้ทิชชู่ในการสั่งน้ำมูกหรือเช็ดปาก ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าหลังจากนั้นทิ้งทิชชู่ให้ถูกสุขอนามัย
รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
9 งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุให้อาการรุนแรงขึ้น
10 ควรรีบพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 39 - 40 องศาเซียลเซียสและไข้ไม่ลดลงหลังได้ยาลดไข้ภายใน 1 - 2 วันเมื่อเป็นคนในกลุ่มเสี่ยงภายใน 3 วันเมื่อเป็นคนสุขภาพแข็งแรง
11 มีผื่นขึ้น
12 ดื่มน้ำได้น้อยหรือกินอาหารได้น้อย
13 ไอมาก มีเสมหะ และ/หรือ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
14 อาการไม่ดีขึ้นหลังไข้ลง หรือ หลังไข้ลงกลับมีไข้อีก
15 เป็นโรคหืด เพราะโรคหืดมักกำเริบและควบคุมเองไม่ได้
16 อาการต่างๆเลวลง
17 เมื่อกังวลในอาการควรพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน
เมื่อหอบเหนื่อยร่วมกับไอมาก อาจร่วมกับนอนราบไม่ได้
เพราะเป็นอาการแทรกซ้อนจากปอดบวม
18 เจ็บหน้าอกมากร่วมกับหายใจขัด เหนื่อย
เพราะเป็นอาการจากอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มหัวใจ
หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
19 ชัก ซึม สับสน แขน/ขาอ่อนแรง อาจร่วมกับปวดศีรษะรุนแรง
และคอแข็ง เพราะเป็นอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
และ/หรือ สมองอักเสบ
และแนว ทางการรักษาในระยะแรก เหมือนกัน ที่แตกต่าง คือเกิดจากติดเชื้อไวรัสคนละชนิด
2 อาการจากไข้หวัดใหญ่ รุนแรงกว่ามากและมีอาการรุนแรงทันที
แต่อาการของไข้หวัดจะค่อยเป็นค่อยไป
3 โรคไข้หวัดใหญ่มักเกิดโรคข้างเคียงแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
4 ในไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่แรก
5 โรคไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนป้องกัน
(ปรึกษาแพทย์เรื่องการได้รับวัคซีนเมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยง) แต่ไข้หวัดไม่มี
(Celsius) โดยไข้ขึ้นสูงภายใน 1 วัน ปวดศีรษะมาก ปวดกระบอกตาเวลาตาเคลื่อนไหวมีน้ำตาไหลเมื่อมีแสงสว่าง ปวดกล้ามเนื้อ/ปวดเมื่อยเนื้อตัวอ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ คัดจมูก เบื่ออาหาร ทั้งหมดเป็นอาการที่พบได้บ่อยแต่อาการที่อาจพบได้และเป็นอา การรุนแรงกว่า เช่น หายใจเหนื่อย หอบหายใจมีเสียงหวีด ไอรุนแรง หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้อง เสีย มึนงง ซึมและ หัวใจล้มเหลว
โรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงไหม?
โรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงไหม? มีโรคแทรกซ้อนไหม?โดยทั่วไปในโรคไข้หวัดใหญ่ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) อาการไข้ และอาการต่างๆจะดีขึ้นภายใน 5 - 7 วัน ผู้ป่วยจะค่อยๆฟื้นตัวกลับเป็นปกติ
แต่ในเด็กเล็ก คนท้อง/หญิงตั้งครรภ์ ในผู้สูงอายุ หรือเมื่อมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (กลุ่มเสี่ยง)
ภายหลังไข้ลง อาจยังมีอาการอ่อนเพลียมากต่อเนื่องได้อีกหลายสัปดาห์โรคแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ มีทั้งชนิดไม่รุนแรงและชนิดรุนแรงชนิดไม่รุนแรงเช่น การอักเสบของหูชั้นกลาง (หูติดเชื้อ, หูน้ำหนวก)
และของไซนัส (ไซนัสอักเสบ)แต่เมื่อมีโรคแทรกซ้อนชนิดรุนแรงซึ่งมีโอกาสเกิดสูงในบุคคลกลุ่มเสี่ยง อาจเป็นสาหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น ปอดบวมผู้ป่วยโรคหืด จะมีอาการรุนแรงขึ้นมากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสมองอักเสบ และ/หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดอัมพาต ชัก แขน/ขาอ่อนแรง และโคม่า
โรคไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร?
โรคไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้โดยวิธีเช่นเดียวกับโรคหวัด โดยติดต่อทางการหายใจจากการไอ จามของผู้ป่วย, จากเชื้อที่อยู่ในละอองอากาศเข้าสู่จมูกจากการหายใจ หรือสัมผัสกับเยื่อตา หรือ เยื่อเมือกช่องปาก, และจากสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่นจากมือสัมผัสเชื้อ แล้วมือเช็ดปากหรือขยี้ตา ซึ่งการแพร่กระจายเกิดได้สูงในสัปดาห์แรกของอาการ
แพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร?
โดยทั่วไปแพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ได้จากอาการและการตรวจร่างกาย แต่ที่แน่ นอน
คือ การตรวจเพาะเชื้อ จากลำคอโพรงหลังจมูก และเสมหะ และ การตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทานโรค
คือ การตรวจเพาะเชื้อ จากลำคอโพรงหลังจมูก และเสมหะ และ การตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทานโรค
โรคไข้หวัดใหญ่รักษาอย่างไร?
โรคไข้หวัดใหญ่มีแนวทางดูแลรักษาเช่นเดียวกับในโรคหวัด ซึ่งที่สำคัญคือ พักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)ให้ยาลดไข้พาราเซตามอลหรือตามแพทย์แนะนำ (ห้ามใช้ยาแอสไพรินโดยเฉพาะในเด็ก เพราะอาจเกิดการแพ้ยาแอสไพริน)ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ในรายที่รุนแรงหรือกลุ่มเสี่ยงอาจรักษาโดยยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มมีอาการ
มีวิธีดูแลตนเองอย่างไร?
การดูแลตนเอง/การพบแพทย์ เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ที่สำคัญ คือการดูแลตนเอง/การพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ที่สำคัญ คือ
1 เมื่อมีไข้ ควรหยุดโรงเรียนหรือหยุดงานแยกตัวและของใช้จากผู้อื่น เพื่อพักผ่อนและป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
2 พักผ่อนให้มากๆ
3 รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงลดโอกาสเกิดโรคข้างเคียงแทรกซ้อนและลดการแพร่เชื้อ
4 พยายามกินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ในทุกวัน
5 ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆอย่างน้อยวันละ 6 -8 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
6 กินยาลดไข้พาราเซตามอล หรือตามแพทย์/พยาบาล/เภสัชกรแนะนำไม่ควรกินยาแอสไพรินเพราะอาจเกิดการแพ้ ดังกล่าว
7 ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆและทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
8 ใช้ทิชชู่ในการสั่งน้ำมูกหรือเช็ดปาก ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าหลังจากนั้นทิ้งทิชชู่ให้ถูกสุขอนามัย
รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
9 งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุให้อาการรุนแรงขึ้น
10 ควรรีบพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 39 - 40 องศาเซียลเซียสและไข้ไม่ลดลงหลังได้ยาลดไข้ภายใน 1 - 2 วันเมื่อเป็นคนในกลุ่มเสี่ยงภายใน 3 วันเมื่อเป็นคนสุขภาพแข็งแรง
11 มีผื่นขึ้น
12 ดื่มน้ำได้น้อยหรือกินอาหารได้น้อย
13 ไอมาก มีเสมหะ และ/หรือ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียวซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
14 อาการไม่ดีขึ้นหลังไข้ลง หรือ หลังไข้ลงกลับมีไข้อีก
15 เป็นโรคหืด เพราะโรคหืดมักกำเริบและควบคุมเองไม่ได้
16 อาการต่างๆเลวลง
17 เมื่อกังวลในอาการควรพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน
เมื่อหอบเหนื่อยร่วมกับไอมาก อาจร่วมกับนอนราบไม่ได้
เพราะเป็นอาการแทรกซ้อนจากปอดบวม
18 เจ็บหน้าอกมากร่วมกับหายใจขัด เหนื่อย
เพราะเป็นอาการจากอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มหัวใจ
หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
19 ชัก ซึม สับสน แขน/ขาอ่อนแรง อาจร่วมกับปวดศีรษะรุนแรง
และคอแข็ง เพราะเป็นอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
และ/หรือ สมองอักเสบ
โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ไหม?
1 โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ที่สำคัญ คือรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
(สุขบัญญัติแห่งชาติ) พักผ่อนให้มากๆ กิน อาหารมี ประโยชน์ให้ครบห้าหมู่ทุกวัน โดยเพิ่มผัก/ผลไม้มากๆ
2 ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆและทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
3 หลีกเลี่ยงการคลุกคลีสัมผัสผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด
4 รักษาความสะอาดของใช้ส่วนตัว เช่น ไม่ใช้ช้อน แก้วน้ำ ร่วมกับบุคคลอื่น
5 ไม่ใช้มือไม่สะอาดขยี้ตา ล้างมือก่อนเมื่อจะสัมผัสดวงตา
6 รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
7 เมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือต้องดูแลผู้ป่วย
ควรปรึกษาแพทย์ขอรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่ต่างจาก โรคหวัดไหม?
1 โรคไข้หวัดใหญ่และโรคหวัด เป็นคนละโรค แต่มีวิธีติดต่อ อาการ วิธีวินิจฉัยและแนว ทางการรักษาในระยะแรก เหมือนกัน ที่แตกต่าง คือเกิดจากติดเชื้อไวรัสคนละชนิด
2 อาการจากไข้หวัดใหญ่ รุนแรงกว่ามากและมีอาการรุนแรงทันที
แต่อาการของไข้หวัดจะค่อยเป็นค่อยไป
3 โรคไข้หวัดใหญ่มักเกิดโรคข้างเคียงแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
4 ในไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่แรก
5 โรคไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนป้องกัน
(ปรึกษาแพทย์เรื่องการได้รับวัคซีนเมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยง) แต่ไข้หวัดไม่มี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น